วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรค แมลงและการป้องกันกำจัด

ปัญหาในการปลูกเลี้ยงไม้ประดับ นอกเหนือจากการขาดปัจจัยในการดำรงชีวิต ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือปัญหาในเรื่องของโรงและแมลงนี้เอง ถ้าหากมองกันอย่างผิวเผินแล้วดูเหมือนว่าดรคและแปลงนั้น ไม่น่าจะมีความสำคัญอะไรนัก แต่การมองข้ามปัญหาในเรื่องนี้ไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ประดับได้ ไม้บระดับที่ปลูกเลี้ยงกันอยู่รอบ ๆ บ้านหรือภายนอกอาคารนั้น ส่วนมากจะเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัดและอุณหภูมิสูง จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่คิดกันเอาเองว่า ไม้ประดับที่ปลูกอยู่กลางแจ้งนั้นจะต้องมีความทนทางต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเข้าใจที่ผิด ๆ และสิ่งที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือความเสียหายที่เกิดจากโรคและแปลง ซึ่งจะขอกล่าวแต่พอสังเขปดังต่อไปนี้ คือ
ความเสียหายที่เกิดจากเชื้อโรค
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเชื้อโรคนี้ มักจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ และอาการที่แสดงออกก็จะแตกต่างกันไปตามเชื้อสาเหตุ ถ้าผู้ปลูกเลี้ยงไม่เป็นคนเจ้าสังเกต ก็มักจะไม่พบอาการเริ่มต้น ซึ่งเป็นอาการที่รักษาได้ง่ายกว่า อาการที่ระบาดแล้ว เชื้อโรคที่เป็นตัวก่อให้เกิดความเสียหายแกไม้ประดับและที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไป มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภพ คือ
เชื้อรา เชื้อรานั้นมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ สามารถที่จะเข้าทำลายพืชได้เกือบทุกชนิด เมื่อมันอยู่ในภาวะที่เหมาะสม อาการของพืชที่ได้รับเชื้อราเข้าไปจะแสดงอาการให้เห็นเมื่อได้รับความชื้น โดยเฉพาะในพืชที่กำลังเจริญเติบโตหรือกำลังงอกออกจากเมล็ดใหม่ ๆ อาารที่พบดดยทั่วไปคือ จะมีรอยฉ่ำ น้ำเน่า เหี่ยว ถ้ามีอาการมากก็จะถึงตายได้ ไม้ประดับที่ปลูกในสภาพที่อุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง มีโอกาสที่จะถูกทำลายจากเชื้อราได้ง่ายที่สุด การป้องกันกำจัดนั้นทำได้โดยกรควบคุมธรรมชาติและการใช้สารเคมี เช่นแคบแทนและไดโนแคป ฉีดพ่นตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลาก
เชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่รักษาได้ยากมากส่วนใหญ่มักจะตัดส่วนที่เป็นโรคหรืออาจทำลายทั้งต้น โดยการเผาก็ได้ อาการที่พบอยู่บ่อย ๆ คือ อาการที่ใบและลำต้น จะมีจุดเขียวคล้ำ ในหงิกงอหรือใบด่าง มีผลทำให้เนื้อเยื่อในส่วนที่ถูกทำลาย ค่อย ๆ ตายลงที่ละน้อย การเข้าสู่พืชของเชื้อไวรัส จะอาศัแปลงปากดูด เพลี้ยต่างๆ หรือบางครั้งอาจติดมากับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานก็ได้
เชื้อแบคทีเรีย โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนี้ การรักษาส่วนมกมักจะไม่ทันการณ์ เพราะเชื้อจะพร่เข้าไปตามท่าน้ำและท่ออาหารของพืช ทำให้มีผลต่อทุกส่วนของพืช การหาทางป้องกันดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการสร้างสภาวะให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและควรทำลายต้นพืชที่ได้รับเชื้อเข้าไป โดยการเผาทำลายทั้งต้น อย่าทำลายเพียงเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด
ความเสียหายที่เกิดจากแมลง
แมลงที่ทำความเสียหายให้แกต้นไม่นั้น สามารถที่จะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ แมลงปากกัด และแมลงปากดูด

แมลงปากกัด การทำลายของแมลงจำพวกนี้ จะแสดงอาการให้เห็นอย่างรวดเร็ว เช่น กรณีที่เข้าทำลายใบ จะทำให้ใบขาดแหว่งหรือเป็นรูพรุนเต็มไปหมด ซึ่งถ้าหากจำนวนของแมลงที่เข้าทำลายมีมากและกัดกินใบจนหมด พืชจะชงักการเจริญเติบโต แคระแกรน ส่วนแมลงปากกัดบางชนิดที่เข้าทำลายดดยการกัดแทะที่เปลือก ซึ่งส่วนนี้จะทำลายท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ทำให้พืชเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำขาดอาหาร และอาจตายในเวลาต่อมา แมลวจำพวกนคือ ด้วง หนอนเจาะสมอ ตั๊กแตนและยังมีหอยทากและทากที่คอยทำลายเปลือกของต้นไม้อีกด้วย การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดนั้น อาจใช้มาลาไธออน พาลาไธออน อโซดรินหรือไดอาซินอน ฉีดพ่นตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากแมลงปากดูด การเข้าทำลายของแมลงปากดูด ในพืชนั้นจะเข้าทำลายในส่วนของใบ บางชนิดจะทำลายทั้งต้น ยอดและดอก โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ความเสียหายจากการทำลายจะค่อยเป็นค่อยไป ถ้าไม่สังเกตุให้ดีมักจะไม่พบอาการเริ่มแรก ที่แมลงพวกนี้เข้าทำลาย พืชที่ถูกทำลายจะมีกาการแคระแกรน ใบหงิกงอและตายในที่สุด แมลงในกลุ่มนี้ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรแมงมุมแดง และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดนั้ อาจใช้มาลาไธออน พาลาไธออน ไดอาซินอนหรืออโซดรินฉีดพ่นก็ได้ หรืออาจใช้ยาดูดซึมก็ได้ โดยใช้ไซกอนละลายน้ำรดให้ทั่วโคนต้น ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลาก ในการใช้สารเคมีหรือการ้องกันกำจัดโรคและแมลงนั้น ผู้ใช้จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะสารเคมีที่ใช้นั้น บางชนิดมีผลต่อร่างกายของมนุษย์สูงมาก เพราะฉะนั้นผู้ใช้จะต้องปฎิบัติตามคำแนะนำ ที่ระบุไว้ในฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

ที่มา : http://www.maipradabonline.com/index.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น